วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาโดยพัฒนาสิ่งที่มีอยู่หรือสร้างขึ้นมาใหม่
ฝ่ายพัฒนาโซลูชั่นผลิตภัณฑ์การชำระเงินคือนักแก้ปัญหาเป็นการมองวิเคราะห์สิ่งที่เป็นปัญหา ที่อาจจะมองเห็น หรือมองไม่เห็นแล้วพยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา โดยการสร้างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น หลักๆ คือเกี่ยวข้องกับเรื่องของเงิน
· การพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาหรือโซลูชั่น(Solution) ที่เน้นเรื่องทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ หรือปัญหาในชีวิตประจำวันโดยการนำเอาเทคโนโลยี แนวคิดใหม่ ๆเข้ามาใช้ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า
· การแก้ปัญหารือโซลูชั่นต้องตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มแต่ละประเภท เพราะลูกค้าต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงด้านความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยเนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมา บางครั้งอาจไม่ได้เป็นตัวสร้างกำไรให้กับบริษัทโดยตรงแต่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น
· ในภาพรวมอาจดูเหมือนเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป แต่ความยากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินคือการมีหน่วยงาน กฏหมาย และมาตรฐานต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องและกำกับควบคุมเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต),สรรภากร, หรือหน่วยงานระดับนานาชาติต่าง ๆซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะต้องสอดคล้องและสอดคล้องตามกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
· ตัวอย่างผลิตภัณฑ์การเงินคือ การจ่ายโอนเงินด้วย QR แล้วเงินเข้าทันที การใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน การใช้ e-wallet ที่ทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดอีกต่อไปแค่มือถือเครื่องเดียวทำได้ทุกอย่าง
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีหลายอย่างมากเพราะมันถูกสร้างมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันแต่สำหรับส่วนนี้จะเน้นไปที่ Payment Solution เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตรงๆ ที่ดูแลอยู่
· รับฟังความต้องการ (Requirement) จากลูกค้าซึ่งอาจเป็นร้านค้า บริษัท หน่วยงานขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั้งคนทั่ว ๆ ไป
· ดูแลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินขนาดใหญ่ตามโจทย์ที่ได้รับจากลูกค้าหรือจากนโยบายของรัฐ
· ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
· ทำเอกสารเพื่อชี้แจงและขออนุมัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
· ชีวิตแบบมนุษย์เงินเดือนOffice ทั่วไป เริ่มจากเอาคาเฟอีนเข้าร่างแล้วไป Standup Meeting กับทีม เพื่ออัพเดตแผน ระดมความคิด (Brainstorm) ไอเดียเพื่อแก้ปัญหาที่เจอตอบอีเมล จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำงานของแต่ละคน
· ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานกำกับต่าง ๆทั้ งในและนอกบริษัท ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ประมาณ 40% ของงาน
· ลงพื้นที่(onsite) ไปพุดคุยกับลูกค้าเพื่อหาความต้องการ(Requirement) ซึ่งไม่ใช่จากเจ้าเดียว ต้องมาจากหลาย ๆเจ้ามารวมกันแล้วมองหาจุดร่วม (common) และสิ่งที่น่าทำเพื่อสร้างเป็นโมเดลธุรกิจ(Business Model) ขึ้นมา
· เรียนรู้เพิ่มเติม! การพัฒนาคน (capacity building) สำคัญมากเช่นความรู้ กฎเกี่ยวกับการกำกับดูแลการเงิน ความปลอดภัยต่าง ๆไปจนถึงความรู้เสริมอื่น ๆ ที่สนใจ
· สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือเรื่องการสื่อสารที่แบ่งเป็น
- การตั้งคำถาม: บางทีการตั้งคำถามที่ถูกจุดเพียงคำถามเดียวเราก็จะได้คำตอบในการแก้ปัญหานั้นๆ แล้ว
- การฟัง: มันต่อเนื่องจากการตั้งคำถามถ้าเราตั้งคำถามได้ถูก มันจะมีคำตอบ หรือความต้องการลึก ๆ จากคำตอบนั้น ๆ อยู่ซึ่งบางทีมันอาจจะไม่ได้เป็นคำตอบตรง
- การเล่าเรื่อง: ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เกี่ยวข้องกับลูกค้าหลายประเภทมีบุคคลากร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในบริษัทและนอกบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ คุณลุงคุณป้าอายุ80 พ่อค้าแม่ค้า นักเรียนนักศึกษา บุคคลากร IT ไปจนถึงนักการเงินระดับโลกนั่นทำให้ระดับความรู้ของแต่ละคนแตกต่างกันการสื่อสารและถ่ายทอดออกมาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ บางทีเค้าไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมต้องทำแบบนี้ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถถ่ายทอดมันออกมาให้คนหลาย ๆระดับเข้าใจได้ต่อให้ Solution เราเจ๋งแค่ไหน มันก็ไม่ได้เกิด
· ความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ ต้องเรียกว่าสำคัญและเป็นพื้นฐาน เพราะถ้าเราไม่เข้าใจมันการอธิบายและสื่อสารก็จะทำได้ยากมาก ๆ
· ความรู้ด้านIT เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยIT ไปหมดแล้วโดยเฉพาะเรื่องการเงิน ที่ว่ากันตามจริง เป็นหนึ่งในสายแรก ๆอาจจะไม่ต้องลงลึกมากแต่การเข้าใจและตามทันจะสร้างความได้เปรียบให้กับการมองสร้างผลิตภัณฑ์
· การบริหารคนและเวลา
หลักๆ คือ ความรู้ด้านธุรกิจ การบริหาร มีความรู้ทางด้านการเงินอย่างหลายเรื่องถ้าเมื่อก่อนเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยประเก็บประสบการณ์เก็บเกี่ยวเพื่อให้มีความรู้และเข้าใจแต่ปัจจุบันเราสามารถหาข้อมูลหลายเรื่องๆ ได้สะดวกมาก ๆ ช่วยให้เราลดเวลาไปได้เยอะอีกอันแน่นอนคือเรื่องการของการสื่อสารเหมือนที่บอกไปข้างต้น