Geospatial Analyst Officer

มิสมาเจนต้า

“มีความสุขอยู่กับธรรมชาติ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมน่าอยู่และยั่งยืน”

ตอนนั้นยังค้นหาตัวเองไม่เจอแต่ด้วยนิสัยส่วนตัวชอบเรียนวิชาสังคมศาสตร์ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์กับพื้นที่ สนใจเรื่องธรรมชาติ ปรากฏการณ์ทางกายภาพที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเลยทำให้เลือกเรียนคณะศึกษาศาสตร์ภูมิศาสตร์ พอได้เรียนแล้วรู้สึกชอบเพราะเป็นศาสตร์ที่ไม่ตายตัวได้เรียนรู้อะไรที่ชอบหลาย ๆ อย่างประกอบกันไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม มนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีสิ่งใหม่ ๆ ให้เรียนรู้ตลอดเวลา เลยทำให้ต่อยอดศึกษาเทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับพื้นที่เพิ่มเติมตั้งแต่นั้นมา

ถ้าถามว่าหลักการสำคัญของการทำอาชีพ Geospatial Analyst คืออะไร ส่วนตัวคิดว่าหัวใจสำคัญของอาชีพนักวิเคราะห์คือการรู้จักสังเกตปัญหาตั้งคำถามเพื่อหาความต้องการ ต้องรู้จักประยุกต์หลักการ ทฤษฎี และกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อคิดหาวิธีการและแนวทางการแก้ปัญหาจากข้อมูลตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้จะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งเมื่อทำงานกับทีมอื่นในบริษัทคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทุกรูปแบบ

งานของ Geospatial Analyst Officer คืออะไร?

·    เข้าใจปัญหาว่าตอนนี้ปัญหาของลูกค้าคืออะไร รู้ข้อมูลรู้ว่าข้อมูลแหล่งไหนน่าเชื่อถือรูปแบบข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือยังต้องเก็บข้อมูลแบบไหน ข้อมูลที่เอามาใช้วิเคราะห์ควรมีคุณภาพเพียงพอต่อการเอาไปใช้งานสามารถนำเสนอเชื่อมโยงข้อมูลกับศาสตร์อื่น ๆ ได้ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการตัดสินใจต่อยอดหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) ในมิติต่าง ๆ ได้

·      วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อให้ได้ solution ในการวางแผนการใช้ในพื้นที่เกษตรป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเอาข้อมูลมาเชิงพื้นที่มาวิเคราะห์และติดตามผล (Monitor)เพื่อดูว่ามีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ที่สนใจอะไรบ้าง เช่น การลักลอบใช้พื้นที่ป่าไม้การเผาป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์จะถูกเอาไปคิดหา Solution การแก้ไขปัญหาตามความต้องการของลูกค้า

·    ติดต่อลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย เพื่อถามความต้องการของลูกค้าและนำเสนอผลการวิเคราะห์รวมถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่จะเอามาช่วยแก้ไขปัญหาของลูกค้า โดยจะทำหน้าที่เป็นเป็นคนกลางระหว่างลูกค้าและทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อนให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย

การระบุปัญหา (Define problem)  

·    การระบุปัญหาและความต้องการของลูกค้าเป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทส่วนใหญ่บริษัทจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าเล่าถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้บริษัทช่วยแก้ไขและความคาดหวังของลูกค้าให้กับทีมขั้นตอนในการระบุปัญหาคร่าว ๆ ได้แก่ คุยกับลูกค้าเพื่อถามความต้องการว่าปัญหาเค้าคืออะไรและสุดท้ายแล้วลูกค้าอยากได้อะไรเช่น ผลผลิตน้อยเนื่องจากดินไม่ดี อากาศไม่ดี แล้วอยากเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่านี้

·    ต่อมารวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้วิเคราะห์ และทำเป็น pre-model ว่าถ้าวิเคราะห์ประมาณนี้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่จะตอบโจทย์ของลูกค้าจะมีฟังก์ชั่นการทำงานอะไรบ้างรูปแบบของผลิตภัณฑ์จะออกมาประมาณไหน จากนั้นเอาไปนำเสนอลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าออกความเห็นว่า prototype ที่เรานำเสนอไปเค้าคิดว่ายังไงบ้างจากนั้นก็จะกลับมาสื่อสารกับคนในทีมเพื่อแบ่งงานและแจ้ง requirement ของงานนี้

หลังจากผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เช่น ชุดข้อมูล แอปพลิเคชั่น หรือเป็น robotic ที่ผลิตโดยทีมทำหุ่นยนต์

การจัดหาวิธีการแก้ไข (Provide solution)

·      ส่วนใหญ่จะเสนอ solution ให้ลูกค้ามากกว่า  1 ทางเลือกและจะเน้นการเสนอโดยใช้ product ของบริษัทก่อนแล้วค่อยเสนอ solutionว่า product นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพอะไรให้ได้ตามความต้องการของลูกค้าบ้าง

·      ก่อนไปนำเสนอให้ลูกค้าก็จะมีการไปคุยกับ marketingteam and/or sale team ว่า product ชิ้นนี้จะต้องนำเสนอยังไงแล้วมีstrategy ในการนำเสนอยังไงบ้าง

·      ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเลือก solution ที่เหมาะกับตัวเองโดยเน้นที่budget ของลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ก็จะเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในตอนนั้น

วัน ๆ ทำอะไรบ้าง?

·       ประชุมกับลูกค้า ประชุมกับผู้เชี่ยวชาญ ประชุมกับทีมการตลาดและประชุมกับคนในทีม

·       Data and Technology >> Planning, Solution, FieldSurvey, Analyze Data, Presentation

·       พักผ่อนระหว่างวัน การพักผ่อนระหว่างวันจะช่วยให้คิดไอเดียใหม่ ๆ ได้

ทักษะอะไรที่คิดว่าสำคัญ?

·      ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic)

·      ทักษะการสื่อสาร (Communication)

·      ทักษะการคิดเชิงระบบ (CriticalThinking)

·      ทักษะการบริหารจัดการ (Management)

·      ความยืดหยุ่น (Flexible)

จะต้องเตรียมตัวยังไงเพื่อเป็น Geospatial Analyst Officer?

·       Essential knowledge – อาชีพนี้อาศัยความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของศาสตร์นี้ก่อน

·       Technology, Technical + Application– เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีที่จะเอามาปรับใช้กับงานเราได้

·       Up to date (Global Trend) – เพื่อให้ตามทันว่าตอนนี้ global trend ไปมนทิศทางไหน เจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายไหนได้บ้าง

มองภาพของอาชีพที่ทำอยู่ในอีก 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร?

สายงานนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในท้องตลาดมากขึ้นส่วนตัวมองว่าอาชีพนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้ายังเป็นที่ต้องการจากตลาดโดยเฉพาะโครงการหรือลูกค้าที่ทำงานเชิงพื้นที่เพราะเทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำของข้อมูลในเชิงพื้นที่ส่งเสริมให้โครงการทำได้จริงได้มากขึ้น อย่างที่บอกในช่วงต้นว่าจะต้องอย่าหยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ฝึกฝนให้มีประสบการณ์อยู่เรื่อย ๆ