Control Board Operation Engineer

ลูก้า

“คนปั่นไฟ เราภูมิใจที่ได้ผลิตไฟทุกเมกกะวัตต์ เพราะความมั่นคงของชาติ คือ งานของเรา”

โรงไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่สำคัญช่วยขับเคลื่อน GDP ของประเทศ ถ้าไม่มีไฟฟ้าประเทศก็ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ บทบาทในอาชีพนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากหลังเรียนจบวิศวกรรมพลังงานแล้วได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในโรงไฟฟ้ารายใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศ พอได้เข้ามาทำงานทำให้รู้ว่ากว่าจะผลิตไฟฟ้าได้แต่ละ MW ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน พอซับซ้อนก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่ากลไกการทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้าเป็นอะไรที่น่าค้นหาไม่ว่าจะเป็น Gas Turbine Steam Turbine Water Treatment Balance of Plant และระบบสายส่ง ทำให้สนุกกับการได้ทำความเข้าใจอยากเรียนรู้ตลอดเวลา

หลักการสำคัญของการทำงานด้านวิศวกรควบคุมการเดินเครื่อง คือ การคอย Monitor การทำงานของโรงไฟฟ้าตามคำสั่งของหัวหน้างานผู้มีหน้าที่ตัดสินใจ สื่อสารกับวิศวกรเดินเครื่องที่ทำงานอยู่กับเครื่องจักรต่าง ๆ ดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ให้ข้อเสนอแนะและถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

งานของวิศวกรควบคุมการเดินเครื่องคืออะไร?

หลักการสำคัญของการทำงานด้านวิศวกรควบคุมการเดินเครื่อง คือ การคอย Monitorการทำงานของโรงไฟฟ้าตามคำสั่งของหัวหน้างานผู้มีหน้าที่ตัดสินใจ สื่อสารกับวิศวกรเดินเครื่องที่ทำงานอยู่กับเครื่องจักรต่างๆ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ในการเป็นวิศวกรควบคุมการเดินเครื่องก็เป็นงานที่ท้าทายต้องคอย Monitor การทำงานของโรงไฟฟ้าให้operate อย่างราบรื่นไม่ติดขัดเพราะถ้าระบบขัดข้องก็จะส่งผลกับระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศตามไปด้วย

การคอยMonitor การทำงานของโรงไฟฟ้าทำหน้าที่หลัก ๆ คือ monitor การทำงานของเครื่องจักรแล้วบันทึกข้อมูลการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าลง Log sheet ทุก 4 ชั่วโมงเช่น รอบการหมุนของ Gas Turbine อัตราการป้อนเชื้อเพลิงอุณหภูมิและความดันของ Gas Turbine อัตราการไหลของอากาศ (Airintake) ก่อนเข้า Gas Turbine ความดันของ Condenser แรงดันปั๊มและอุณหภูมิ รอบการหมุนของ คุณภาพของไอน้ำก่อนเข้า SteamTurbine ระบบ Water Treatment ต้องควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเดินระบบให้อยู่ในรูปแบบ Deionization water เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบโรงไฟฟ้าและจัดการให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งปีส่วนระบบ Balance of Plant จะต้อง monitor การทำงานของระบบวาล์ว ปั๊ม หอผึ่งเย็น (Coolingtower) สายส่ง ตู้ควบคุม (Control package)

งานของวิศวกรควบคุมการเดินเครื่องคืออะไร?

ในการเป็นวิศวกรควบคุมการเดินเครื่องก็เป็นงานที่ท้าทาย ต้องคอย Monitor การทำงานของโรงไฟฟ้าให้ operate อย่างราบรื่นไม่ติดขัด เพราะถ้าระบบขัดข้องก็จะส่งผลกับระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศตามไปด้วย

·       คอย Monitor การทำงานของโรงไฟฟ้า ทำหน้าที่หลัก ๆ คือ monitor การทำงานของเครื่องจักรแล้วบันทึกข้อมูลการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าลง Log sheet ทุก 4 ชั่วโมง เช่น รอบการหมุนของ Gas Turbine อัตราการป้อนเชื้อเพลิง อุณหภูมิและความดันของ Gas Turbine อัตราการไหลของอากาศ (Air intake) ก่อนเข้า Gas Turbine ความดันของ Condenser แรงดันปั๊มและอุณหภูมิ รอบการหมุนของ คุณภาพของไอน้ำก่อนเข้า Steam Turbine ระบบ Water Treatment ต้องควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้ในการเดินระบบให้อยู่ในรูปแบบ Deionization water เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบโรงไฟฟ้าและจัดการให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งปี ส่วนระบบ Balance of Plant จะต้อง monitor การทำงานของระบบวาล์ว ปั๊ม หอผึ่งเย็น (Cooling tower) สายส่ง ตู้ควบคุม (Control package) ระบบน้ำมันหล่อลื่น (Lubricant)

·       สื่อสารกับวิศวกรเดินเครื่อง (Operation Engineer)

วิศกรควบคุมการเดินเครื่องจะประจำอยู่ในห้องควบคุม (Control room) ส่วนวิศวกรเดินเครื่อง หรือ Operation Engineer จะปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้า เพื่อรับคำสั่งจากวิศกรควบคุมการเดินเครื่อง เช่น เปิด-ปิด วาล์วในจุดต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าที่ต้องทำโดย manual เท่านั้น โดยเฉพาะช่วง Startup และ Shutdown โรงไฟฟ้า และในกรณีที่มีการซ่อมบำรุงและต้องการตัดระบบการทำงานของอุปกรณ์ เมื่อระบบแจ้งเตือนจะต้องสื่อสารไปที่วิศวกรเดินเครื่องให้ไปตรวจสอบที่ตำแหน่งที่ระบบแจ้งเตือน หากพบว่าระบบผลิตไฟฟ้ามีปัญหาต้องการซ่อมบำรุงก็จะต้องสื่อสารไปยังแผนกวิศวกรซ่อมบำรุงเพื่อให้เข้ามาแก้ไข รับคำสั่งจากหัวหน้ากะ

·     Provide recommendation และถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงานหาคำตอบและให้ข้อเสนอแนะของปัญหาที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้การเดินเครื่องมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า แล้วนำความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติแล้วมาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงาน

·      ดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

อ่าน Piping and Instrumentation Diagram (P&ID) หรือแผนผังระบุตำแหน่งของระบบท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ววางแผนและตรวจสอบก่อนให้วิศวกรเดินเครื่องเข้าไปตัดระบบของอุปกรณ์ที่ต้องการ Switching หรือซ่อมบำรุง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่หน้างาน

·      ศึกษาสัญญาการซื้อ-ขาย ไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)

ทำความเข้าใจ PPA เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ไม่ให้เกิดการเสียค่าปรับและความเสียหายต่อระบบ

·      ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนควบคุมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ กฟผ. ทั้งก่อนและหลัง Startup & Shutdown ระบบผลิตไฟฟ้าตามที่ได้รับคำสั่งจาก กฟผ. ช่วงเวลาและ load ที่ต้องตาม PPA นอกจากนี้จะต้องบันทึกปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อวัน ปริมาณเชื้อเพลิง ปริมาณไฟฟ้า และปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อวันแล้วรายงานไปยัง กฟผ.

วัน ๆ ทำอะไรบ้าง?

·       สื่อสารกับวิศวกรควบคุมและอ่านรายงานการดำเนินงานที่เข้ากะก่อนหน้า เพื่อทำความเข้าใจว่ามีการดำเนินงานอะไรไปบ้าง

·       บันทึกค่าตัวแปรต่าง ๆ ลงใน Log sheet เพื่อตรวจสอบการทำงานของโรงไฟฟ้า

·       Monitor การทำงานของโรงไฟฟ้า

ทักษะอะไรที่คิดว่าสำคัญ?

·       ทักษะการคิดเชิงระบบ (Critical Thinking)

·       ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)

·       ทักษะการให้ความสำคัญกับผลลัพท์ของงาน (Solution-oriented)

·       ทักษะการให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงาน (Attention to Detail)

·       ทักษะการสื่อสาร (Communication)

·       ทักษะการบริหารจัดการ (Management)

จะต้องเตรียมตัวยังไงเพื่อเป็นวิศวกรควบคุมการเดินเครื่อง?

ทำความเข้าใจหลักการวิศวกรขั้นพื้นฐาน เช่น Thermodynamic ไฟฟ้ากำลัง หลักการอ่าน P&ID ระบบ Control & Instrument และทำความเข้าใจระบบการทำงานของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่สนใจ/ทำงานอยู่ ศึกษาคู่มือของโรงไฟฟ้าและ PPA ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แนวทางการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน

มองภาพของอาชีพนี้ในอีก 5 ปี ข้างหน้าเป็นอย่างไร?

ด้วยกำลังการผลิตของประเทศในตอนนี้คิดว่าในอีกอีก 5 ปีข้างหน้า โรงไฟฟ้าจะมีอัตราการขยายตัวลดลง ทำให้ความต้องการวิศวกรด้านโรงไฟฟ้าลดลงตามไปด้วยเนื่องจากมีกำลังการผลิตที่เกินพอกับความต้องการของประเทศ แต่ยังไงก็บริษัทเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าตามหลายแห่งในไทยมีการขยายตัวไปประกอบกิจการในต่างประเทศมากขึ้น อาจจะทำให้วิศวกรด้านโรงไฟฟ้ามีโอกาสไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น