ข้อมูลตามแหล่งที่มา
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการที่ลูกค้าให้ความเห็นต่อผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์กร ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ข้อมูลศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากการทดลองใช้วัสดุใหม่ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ Primary data ที่ได้จะมีความถูกต้องและสามารถใช้เป็นตัวแทนของกิจกรรมที่เรากำลังสนใจได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คำว่า Secondary หมายถึงลำดับที่สอง นั่นก็หมายความว่าข้อมูลจากแหล่งนี้เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมาจากแหล่งอื่นที่มีคนทำเอาไว้แล้วแล้วเราเอาข้อมูลนั้นมาใช้ต่อ เช่น ผลการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าว่าลูกค้าซื้อรถด้วยเหตุผลอะไรมากที่สุด ผลการสำรวจการใช้งานเว็บไซต์ออนไลน์ว่ามีคนเข้ามาใช้งานวันไหน ช่วงไหนมากกว่ากัน
ข้อมูลตามลักษณะ
เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินประโยคที่กลุ่มเพื่อนพูดแซวกันเล่นว่าเราเป็นทีมงานคุณภาพ หรือไม่ก็แซวเล่นกันว่างานนี้พวกเราเป็นทีมงานปริมาณ ซึ่งตามบริบทก็หมายถึงกลุ่มคนที่ทำงานเน้นคุณภาพเป็นหลัก กับอีกกลุ่มที่เน้นปริมาณงานแต่ไม่สนใจคุณภาพทำออกมาเยอะ ๆ เอาไว้ก่อน ซึ่งมันก็ทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ว่าเป็นปริมาณแบบตัวเลขที่นับได้กับแบบที่นับไม่ได้นั่นเอง หากเทียบกับการแบ่งข้อมูลตามลักษณะก็จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลตัวเลข (Numerical data) สามารถวัดค่าได้เพื่อแสดงจำนวนหรือปริมาณของสิ่งที่นับ เช่น ปริมาณแคลลอรี่ของอาหารที่เรากินเข้าไปในหนึ่งวัน ระยะทางที่เราวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้าและกำไรที่ได้จากการขายสินค้าต่อปี
ข้อมูลเชิงปริมาณจะง่ายกับการเอาไปใช้ในทางสถิติ สามารถเอาไปวิเคราะห์และแสดงผลผ่านโปรแกรม Visualization ได้
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขไม่สามารถบอกได้ว่ามีค่ามากหรือน้อยแค่ไหน ไม่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หารตามหลักการพีชคณิตเพื่อหาค่าได้ เรามักจะเจอ Quanlitative data ในรูปแบบของคำพูด ความคิดเห็น การอธิบายเรื่องราว แต่จะสามารถบอกลักษณะภายนอกกับความรู้สึกได้เช่น สถานภาพ เพศ อาหารที่ชอบกิน การรีวิวความพึงพอใจหลังจากใช้สินค้า
จริงอยู่ที่การได้มาซึ่งข้อมูล Qualitative นั้นยากต้องลงทุนลงแรงมากกว่าข้อมูลแบบ Quantitative เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในระดับที่คนใช้ข้อมูลสามารถเอาไปใช้ต่อได้เพราะต้องผ่านขั้นตอนการออกแบบคำถาม วิเคราะห์จากประโยคที่ได้รับว่าแก่นแท้ของข้อมูลที่ได้มานั้นคืออะไรกันแน่ แต่ถ้าหากวิเคราะห์ดี ๆ พิจารณาปัจจัยที่จะส่งผลกับ Result ที่ได้มากพอก็จะทำให้เราได้ข้อมูลที่แน่นอนสามารถเอาไปใช้งานต่อได้เหมือนกัน
ข้อมูลตามการใช้งานในคอมพิวเตอร์
ประเภทข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้โดยพื้นฐานสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท
1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) เป็นข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลแล้วคำนวณได้ เช่น สถิติราคาขายทองคำในท้องตลาด จำนวนช่องจอดรถที่ยังว่างอยู่บนอาคารจอด
2. ข้อมูลประเภทตัวอักษร (Text Data) เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเอาไปคำนวณได้ แต่สามารถบันทึกแล้วแสดงผลได้ เช่น เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวพนักงาน
3. ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะไฟล์เสียง (Audio Data) ส่วนประเภทนี้ตรงไปตรงมาตามหัวข้อเลยคือไฟล์ข้อมูลที่บันทึกเสียงเก็บเอาไว้โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถอ่านค่าแล้วเล่นเสียงนั้นให้เราฟังได้
4. ข้อมูลรูปภาพ (Images Data) เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้ในลักษณะไฟล์รูปภาพ ข้อมูลรูปภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันดีก็เห็นจะหนีไม่พ้นไฟล์นามสกุล .png และ .jpg ที่เป็นไฟล์ภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงไฟภาพเคลื่อนไหวที่ไม่มีเสียงด้วย
5. ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ส่วนประเภทนี้จะต่างจากข้อมูลรูปภาพตรงที่ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวนี้จะมีทั้งภาพและเสียงปนกัน เสียงและภาพถูกเล่าเรื่องราวไปในทิศทางเดียวกัน ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่เรามักจะเห็นกันบ่อยในชีวิตประจำวันก็จะเป็นคลิปที่เราถ่ายจากมือถือตอนไปเที่ยวกับครอบครัว คลิปสื่อการสอนที่สร้างจากโปรแกรมต่าง ๆ
ข้อมูลตามการใช้งานด้าน Programmimg
ประเภทข้อมูลตามการใช้งานด้าน Programming จะเป็นสิ่งที่ระบุ Attribute ของข้อมูลนั้น ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วประเภทข้อมูลที่มีใช้งานในด้าน Programming มีดังนี้
ในแต่ละโปรแกรมใช้ภาษาเฉพาะสำหรับออกคำสั่งการทำงานที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การเข้าใจประเภทข้อมูลช่วยให้สามารถออกแบบโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมได้ถูกต้อง เขียนโปแกรมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งหรือถูกนำมาประมวลผลอยู่ในระบบ