18,000 BCE
ย้อนกลับไปเมื่อ 18,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคหินเก่าตอนปลาย (Upper Paleolithic) ที่มนุษย์ในยุคนั้นมีวิวัฒนาการในการสร้างเครื่องมือหินกะเทาะการวาดภาพศิลปะ ประติมากรรม และการแกะสลักด้วยเหตุนี้เอง Data จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของรอยบากบนกระดูกลิงบาบูนที่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่เรียกมันว่า Ishango bone เกิดจากการที่มนุษย์ในยุคนั้นต้องการนับจำนวนข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังพบกระดูกที่มีรอยบากที่ใช้แทนการนับจำนวนในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายชิ้นในยุคดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันเรียโบราณวัตถุที่ค้นพบในลักษณะนี้ว่า Tally stick ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของจำนวนเฉพาะ (Prime Number) เลยก็ว่าได้
2400 BCE
ความพยายามของมนุษย์ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ในการคำนวณยังคงมีเรื่อยมาจนกระทั่ง 2400 ปีก่อนคริสตกาล สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่เรายังเห็นกันอยู่ในปัจจุบันได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นสิ่งนั้นก็คือลูกคิด หรือ Abacus ที่มนุษย์ยุคนั้นใช้เป็นเครื่องคิดเลข
100 – 200 AD
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ถูกพัฒนาขึ้น ใช่คุณอ่านไม่ผิดหรอกว่าคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกได้เกิดขึ้นในช่วงนี้คอมพิวเตอร์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Antikythera mechanism ถูกพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก เป็นคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกไม่มีหน้าจอแสดงผลเหมือนคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน รูปลักษณ์ภายนอกที่เห็นเป็นเพียงโลหะรูปฟันเฟืองสีบรอนซ์ทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลหรือสมัยปัจจุบันเราเรียกว่า CPU โดย Antikythera mechanism ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในทางโหราศาสตร์และนับรอบการจัดโอลิมปิกเกมส์
1663
ในปีนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นวิวัฒนาการของตัวเลขอย่างแท้จริง โดย John Graunt นักสถิติชาวอังกฤษได้จดบันทึกข้อมูลการเสียชีวิตของคนไข้และข้อมูลที่เค้าวิเคราะห์ขึ้นลงบนกระดาษเพื่อหาสัญญาณการเกิดกาฬโรค (Bubonic plague) ให้กับประชากรแถบยุโรป
1928
เป็นช่วงปีแรกของยุคที่มีการพัฒนาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Data storage) สมัยใหม่ Fritz Pfleumer วิศวกรชาวเยอรมันผู้คิดค้นแถบแม่เหล็กบันทึกเสียง หลักการของอุปกรณ์เก็บข้อมูลชิ้นนี้เกิดจากการที่ Fritz Pfleumer วางแถบแม่เหล็กลงบนกระดาษที่ใช้สำหรับห่อบุหรี่เพื่อบันทึกข้อมูลจากหลักการเดียวกันนี้ทำให้ Fritz Pfleumer นึกขึ้นได้ว่าเค้าก็สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ในการใช้ผง Iron oxide เคลือบทับกระดาษบางด้วยแลกเกอร์แล้วใช้บันทึกเสียง หลักการของเค้าได้ถูกถ่ายทอดและนำมาปรับใช้ในการพัฒนาการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน
1962
William C Dersch วิศวกรของ IBM ได้พัฒนา "Shoebox" ขึ้น อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถจดจำและตอบสนองกับคำพูดของมนุษย์ในภาษาอังกฤษได้ 16 คำ รวมถึงตัวเลข 0-9 ตัวอย่างของคำที่ใช้ออกคำสั่งให้ Shoebox คำนวณแล้วปรินท์คำตอบออกมา ได้แก่ “plus” “minus” และ “total” ถือว่าเป็นอีกปีที่สำคัญในประวัติศาสตร์ที่โลกได้มีการเอา Business Intelligence (BI) มาวิเคราะห์แล้วใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจ ซึ่ง Shoebox ได้กลายเป็นอุปกรณ์ต้นแบบของระบบจดจำเสียง (Voice recognition) เพื่อต่อยอดในการพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียงในปัจจุบัน
1999
คำว่า Big data ได้ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในบทความวิจัยหัวข้อ “Visually Exploring Gigabyte Datasets in Real Time” โดย Associationfor Computing Machinery งานวิจัยนี้ให้คำจำกัดความของการมี Big data ว่าหัวใจหลักของการคำนวณเป็นการหา Insight ไม่ใช้ตัวเลขหรือผลลัพธ์นั่นเอง ซึ่งเป็นการจุดฉนวนให้เริ่มเกิดแนวคิดในการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจริงแบบอัตโนมัติจนเป็นที่มาของคำว่า Internet of Things (IoT) หรืออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อใช้ขยายความของอุปกรณ์ออนไลน์ที่สามารถสื่อสารส่งข้อมูลถึงกันได้เอง
2014-ปัจจุบัน
ในปีนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์หันไปใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่าบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) นับตั้งแต่มีที่อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นบนโลกนี้และจากผลการสำรวจของ GE ร่วมกับ Accenture ยังพบว่า 88% ของภาคธุรกิจเริ่มมีการทำธุรกิจบนพื้นฐานของผลการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก