Emotional Intelligence (EI) หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์" บางครั้งเราก็เรียกว่า "Emotional Quotient (EQ)" เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับใครก็ตามที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ในโปรเจกต์ใด ๆ ก็ตามที่เราทำ เราจะเจอกับปัญหาอุปสรรควุ่นวายผ่านเข้ามาเสมอ แน่นอนว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอารมณ์ในบางครั้ง เช่น เวฬูก้าที่โมโหจากเหตุการณ์ที่ลูกค้ายกเลิกสัญญาจากงานที่ทีมงานสะเพร่า เป็นต้น การมีอารมณ์ร่วมเป็นเรื่องที่ปกติ และอันที่จริงถ้าเวฬูก้าไม่มีอารมณ์ร่วมเลยก็อาจจะแปลว่าเขาไม่ได้แคร์โปรเจกต์นั้นเลย แต่ผู้นำทีมจะต้องตระหนักเสมอว่าอารมณ์ของตนเองมีผลต่อทีมงานของตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมจะสร้างความแตกต่างได้ในสถานการณ์วิกฤตเหล่านี้

EI หรือ EQ คือทักษะในการรับรู้อารมณ์ของเราเองและอารมณ์ของผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และสามารถควบคุมจัดการอารมณ์ที่ตัวเองแสดงออกไปยังผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม คุณ Daniel Goleman และทีมงานได้เคยทำการศึกษาไว้และพบว่า EQ เป็นทักษะที่สำคัญในความสำเร็จของเราไม่แพ้เรื่องความฉลาดทางปัญญา (IQ) เลยทีเดียว คนที่มี EQ สูง ๆ จะสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ได้รับการยอมรับและความเชื่อใจที่มากกว่า ซึ่งนี่เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในวันที่อะไร ๆ ไม่เป็นไปตามที่เราคิด

และนี่ก็เหมือนกับทักษะอื่น ๆ ทั่วไปที่เราทุกคนสามารถพัฒนาให้เก่งขึ้นได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะเก่ง EQ ได้มากขึ้นยังไง

บ้าน EQ

Daniel Goleman ได้อธิบายเรื่องของ EQ ไว้ว่ามีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ซึ่งเราเอามาสร้างเป็นรูปบ้านแห่ง EQ กัน บ้านนี้มี 2 ชั้นคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง (ชั้นล่าง) และส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น (ชั้นบน) และมีฐานรากที่เป็นพื้นฐานของบ้าน EQ ของเรา บ้านหลังนี้มีสองด้าน ด้านนึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ (Awareness) และอีกด้านเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม (Control) การกระทำของเรา

ทีนี้ เรามาดูแต่ละองค์ประกอบของบ้าน EQ กัน

Self-Awareness (การรับรู้ตัวเอง)

ห้องนี้อยู่ชั้นล่าง (เรื่องของตัวเราเอง) ในด้านที่เป็นเรื่องการรับรู้

นี่คือส่วนที่เราต้องเข้าใจอารมณ์ของเราเองซะก่อน ตอนนี้เรากำลังโมโห กำลังเศร้า กำลังกังวล กำลังกลัว หรือกำลังมีความสุข อย่าหลอกตัวเองนะ พอเรารู้แล้วว่าอารมณ์ของเราอยู่ตรงไหน เราก็ต้องรู้ด้วยว่าอารมณ์ของเราจะมีผลยังไงกับคนอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ข้างเรา

ในสถานการณ์ตัวอย่างของเรา เวฬูก้ามีอารมณ์โมโห (อย่างมาก!) เพราะฉะนั้นจุดแรกเลยคือเขาต้องรู้ว่าเขากำลังโมโหอยู่ จากนั้นเขาก็ต้องรับรู้ว่าอารมณ์โมโหของตัวเองจะไปมีผลอย่างไรต่อทีมงาน เช่น ทีมงานก็น่าจะเกิดอารมณ์หวาดกลัว (ก็หัวหน้าโมโหนี่น่า)

Self-Regulating (การควบคุมตนเอง)

ห้องนี้อยู่ชั้นล่าง (เรื่องของตัวเราเอง) ในด้านที่เป็นด้านการกระทำ

สิ่งที่สำคัญในส่วนนี้คือให้เราตระหนักไว้เสมอว่าเรา "เลือกได้" ว่าจะตอบสนองต่ออารมณ์ของเราด้วยการกระทำแบบไหน ซึ่งนี่คือสิ่งที่แตกต่างใน 2 สถานการณ์ตัวอย่างของเรา

พอเรารู้ตัวละว่าเรากำลังมีอารมณ์แบบไหนอยู่ คำถามก็คือแล้วอยากจะให้ทีมงานกลัวไหม? ก็อาจจะ? จะได้ไม่ทำอีกไง แต่มีทางอื่นไหมนะที่จะทำให้เขาไม่ทำแบบนี้อีกโดยที่ไม่ต้องกลัว

ในตัวอย่างสถานกาณณ์ของเราความจริงเวฬูก้ารู้ตัวเองอยู่นะ

Motivation (แรงบันดาลใจ)

อันนี้เป็นส่วนรากฐานของบ้าน EQ เรา

Empathy (เข้าใจคนอื่น)

เข้าใจอารมณ์ของคนอื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เขากำลังโมโหเหมือนเรารึเปล่า หรือเขาเศร้าเสียใจ หรือเขากลัวและวิตกกังวล

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ

Social Skills (ทักษะทางสังคม)

(หมายเหตุ: บางครั้งในบทความช่วงหลัง ๆ ของคุณ Daniel Goleman จะมีการจัดกลุ่มเหลือแค่ 4 องค์ประกอบ